ภาพยนตร์โฆษณา - ต่อต้านคอร์รัปชั่น

ภาพยนตร์โฆษณา - ต่อต้านคอร์รัปชั่น

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

พระราชประวัติรัชกาลที่ 1


พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ภาพ:ร1.jpg

        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจักรีบรมนาถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี (พ.ศ. 2279 - พ.ศ. 2352 ครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352) รัชกาลที่ 1 แห่งราชจักรีวงศ์ พระราชสมภพเมื่อ วันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 30 มีนาคม พุทธศักราช 2279 ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ 4 ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระนามเดิม "ทองดี") และพระอัครชายา (พระนามเดิม "หยก"หรือ ดาวเรือง) ทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคิณี พระอนุชาร่วมพระชนก ประกอบด้วย

        - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (นามเดิมว่า สา) พระเชษฐภคินีพระองค์ใหญ่
        - พระเจ้ารามณรงค์ (บรรดาศักดิ์สมัยกรุงศรีอยุธยาว่าเป็นที่ ขุนรามณรงค์) พระเชษฐา
        - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (นามเดิมว่า แก้ว) พระเชษฐภคินีพระองค์น้อย
        - พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (นามเดิมว่า ทองด้วง)
        - สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (นามเดิมว่า บุญมา) พระอนุชา
        - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎา (นามเดิมว่า ลา) พระอนุชา ต่างพระชนนี
        - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทวี (นามเดิมว่า กุ) พระขนิษฐา ต่างพระชนนี

พระนาม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระนามเต็ม สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาศกรวงษ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรนาถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไศรย สมุทัยคโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร หริหรินทราชาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณอัขณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราช เดโชไชยพรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร ภูมินทรปรมาธิเบศรไลกเชฐวิสุทธรัตนมงกุฏ ประเทศคตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว คือ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์
พระนามย่อ -
พระนามเดิม ทองด้วง
พระราชสมภพ ที่นิวาสสถานภายในกำแพงพระนครศรีอยุธยา ตำบลป่าตอง วันพุธ เดือน ๔ แรม ๕ ค่ำ เวลา ๓ ยาม ปีมะโรง อัฐศก จุลศักราช ๑๐๙๘ ตรงกับวันที่ ๓๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๒๗๙ ในรัชกาลของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ ๔ ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระนามเดิม "ทองดี" ดำรงบรรดาศักดิ์เป็น หลวงพินิจอักษร ตำแหน่งเสมียนตรา ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) และพระอัครชายา (พระนามเดิม "หยก")
เสวยราชสมบัติ ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยาม เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ (ตรงกับ วันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ ปีขาล จัตราศก จุลศักราช ๑๑๔๔) ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๕ พรรษา

        เมื่อครั้งที่ทรงดำรงตำแหน่งหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมรสกับคุณนาค ธิดาของคหบดีใหญ่ตำบลอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ต่อมาเมื่อขึ้นครองราชย์ แม้จะมิได้ทรงโปรดให้สถาปนายกย่องขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่คนทั้งปวงก็เข้าใจว่าท่านผู้หญิงนาค เอกภรรยาดั้งเดิมนั้นเองที่อยู่ในฐานะสมเด็จพระอัครมเหสี จึงพากันขนานพระนามว่า สมเด็จพระพันวษา หรือสมเด็จพระพรรษา ตามอย่างการขนานพระนามสมเด็จพระอัครมเหสีตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดาที่ประสูติแต่สมเด็จพระพันวษา พระอัครมเหสี 10 พระองค์ คือ
        - สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม
        - สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม)
        - สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงฉิมใหญ่ (บางแห่งพระนามเดิมว่า หวาน)
        - พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร - พระนามเดิมว่า ฉิม)
        - เจ้าฟ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
        - เจ้าฟ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
        - เจ้าฟ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
พระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น ๔๒ พระองค์
เสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๑๓ ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช ๑๑๗๑ ตรงกับวันที่ ๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๕๒ พระชนมพรรษา ๗๔ พรรษา เสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ ๒๗ พรรษา
วัดประจำรัชกาล วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

        ในด้านการศาสนา ได้โปรด ให้มีการสังคายนา ชำระ พระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถา ฎีกา ฯลฯ ณ วัดมหาธาตุ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้าง หอ มณเฑียรธรรม ขึ้นในบริเวณวัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง สำหรับ เป็นที่เก็บคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนา และทรง จัดการปกครองคณะสงฆ์ให้ เรียบร้อย พระราชานุกิจ (กิจวัตรประจำวัน) ของพระองค์ ตลอดรัชสมัย เป็นที่น่าประทับใจ พระองค์ ทรงงานตั้งแต่เช้าตรู่ จนดึกดื่นทุกวัน มิได้ขาด เริ่มตั้งแต่ ทรงบาตร ถวายภัตตาหารพระสงฆ์ ฟังรายงาน จากพระคลังมหาสมบัติ ออกรับพระ บรมวงศานุวงศ์ และขุนนาง ฟังรายงานและ วินิจฉัยคดีจากจางวาง และปลัดกรมตำรวจ วินิจฉัยเหตุการณ์บ้านเมือง ทั้งข้าราชการจากฝ่ายทหาร และพลเรือน แล้วจึงเสวยพระกระยาหารเช้า แล้วพบข้าราชการฝ่ายใน หลังพระกระยาหารค่ำ ทรงฟังพระธรรมเทศนา ฟังรายงานการใช้จ่ายเงินคลัง การก่อสร้าง เสร็จแล้วเสด็จออกรับขุนนาง ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน กรมท่า นำใบบอกหัวเมืองมากราบทูล ทรงวินิจฉัย ปัญหาต่าง ๆอยู่จน 4 ทุ่ม หรือดึกกว่านั้น แล้วจึงเสด็จขึ้น บรรทม เป็นพระราชกริยาวัตร ตลอดมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น