ภาพยนตร์โฆษณา - ต่อต้านคอร์รัปชั่น

ภาพยนตร์โฆษณา - ต่อต้านคอร์รัปชั่น

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
การอนุรักษ์วัฒธรรมไทยนั้น  ต้องอาศัยความร่วมมือกันของคนไทยทุกคนมีวิธีการ ดังนี้
1.  ศึกษา  ค้นคว้า  และการวิจัยวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งที่มีการรวบรวมไว้แล้วและยังไม่ได้ศึกษา  เพื่อทราบความหมาย และความสำคัญของวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นมรดกของไทยอย่างถ่องแท้   ซึ่งความรู้ดังกล่าวถือเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิต  เพื่อให้เห็นคุณค่า  ทำให้เกิดการยอมรับ  และนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ต่อไป
2.  ส่งเสริมให้ทุกคนเห็นคุณค่า  ร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยนและตอบสนองกระแสวัฒนธรรมอื่นๆ อย่างเหมาะสม
3. รณรงค์ให้ประชาชนและภาคเอกชน ตระหนักในความสำคัญ ของวัฒนธรรม ว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้การรับผิดชอบร่วมกันในการส่งเสริมสนับสนุน  ประสานงานการบริการความรู้  วิชาการ และทุนทรัพย์สำหรับจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม
4.  ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยการใช้ศิลปะวัฒนธรรมที่เป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน
5. สร้างทัศนคติ  ความรู้  และความเข้าใจว่าทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง  ฟื้นฟู  และการดูแลรักษา สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติของชาติ   และมีผลโดยตรงของความเป็นอยู่ของทุกคน 
6.  จัดทำระบบเครื่อข่ายสารสนเทศทางด้านวัฒนธรรมเพื่อเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงาน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ  สามารถเลือกสรร  ตัดสินใจ  และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตทั้งนี้สื่อมวลชนควรมีบทบาทในการส่งเสริม และสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย

การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ข่าวประชาสัมพันธ์ “การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย”

สืบเนื่องจากโรงเรียนเลิศหล้า ถนนเกษตร-นวมินทร์ได้จัดกิจกรรมการแสดงปิดภาคเรียนประจำปีการศึกษา 2553 ในหัวข้อการแสดง “เลิศหล้าอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย” เมื่อวันที่ 4 -5 มีนาคม 2554 เพื่อปลูกจิตสำนึกอันดีงามในด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยในเด็ก และเยาวชน
ดาราร่วมกิจกรรมโครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยฯ บันเทิง—๔ ต.ค. ๕๓ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดโครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สนุกสนานครื้นเครงกับการละเล่นพื้นบ้าน รณรงค์ให้เยาวชนไทยรู้จักการละเล่นเด็กไทยหลากหลายชนิด มีดารานักแสดงและทีมงานรังสิมันต์ร่วมทำกิจกรรม อาทิ เจมี่ ศศมล บูเฮอร์, ต้อง ศุภัชญา รื่นเริง,

ความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ

ความปลอดภัยและในการประกอบอาชีพ

ความปลอดภัยด้านสุขชีวอนามัย

อุบัติเหตุในสถานที่ทำงานทำให้การผลิตหยุดชะงักซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายกับบริษัทในประเทศเยอรมันเป็นจำนวนเงินมหาศาลในทุกปี ดังนั้นเราจึงแนะนำให้ลูกค้าของเราจัดทำระบบการจัดการด้านสุขชีวอนามัย
ผู้เชี่ยวชาญของเราจะทำการตรวจสอบผู้ให้บริการทางด้านเทคนิค "technical service providers" หรือ คู่สัญญา "contractors" ให้เป็นไปตาม SCC (safety-certificate-contractors) checklist ซึ่งระบบ SCC สามารถช่วยลดอุบัติเหตุในสถานที่ทำงาน และช่วยให้กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง : ความปลอดภัยในการทำงาน (ความปลอดภัยทั่วไป)

การพัฒนาทัศนคติและนิสัยในการทำงานด้วยความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในการประกอบอาชีพ ความปลอดภัยจึงนับได้ว่าเป็นหัวใจของการทำงาน ผู้ที่ปฏิบัติงานได้ดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยอยู่เสมอ

จากการสำรวจบุคคลที่ได้รับอันตรายจากการทำงานส่วนใหญ่มักขาดความเอาใจใส่ในเรื่องความปลอดภัย จึงก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายและชีวิตของตนเอง เพื่อนร่วมงานและทรัพย์สิน ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจ และปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยโดยเคร่งครัด แล้วเราจะปลอดภัยจากอันตรายหรืออุบัติเหตุต่าง ๆ

สาเหตุของอุบัติเหตุจากการทำงาน

อุบัติเหตุหมายถึง สิ่งที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า ไม่ได้ควบคุมหรือไม่คาดคิดว่ามันจะเกิดขึ้นมาได้

อุบัติเหตุจากการทำงานเป็นเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด อันเป็นผลมาจากการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สาเหตุโดยทั่วไปของอุบัติเหตุอาจแบ่งได้ดังนี้

1.ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
มักเกิดกับบุคคลที่เข้าทำงานใหม่ ๆ หรือเข้าทำงานกับเครื่องมือ เครื่องจักรใหม่ โดยที่ไม่ได้รับคำอธิบายถึงการปฏิบัติและการทำงานของเครื่องมือเครื่องจักรโดยละเอียดจึงมักจะทำให้เกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อย ๆ
การสอนเกี่ยวกับความปลอดภัยยังไม่ดีพอ
กฎความปลอดภัยไม่มีผลบังคับใช้
ไม่ได้วางแผนงานความปลอดภัยไว้เป็นส่วนหนึ่งของงาน
จุดอันตรายต่าง ๆ ไม่ได้ทำการแก้ไข
อุปกรณ์ความปลอดภัยไม่ได้จัดให้
ขาดความรู้หรือไม่ได้ตระหนักในเรื่องความปลอดภัย
2. ความประมาท
เกิดจากมีความเชื่อมั่นมากเกินไปเนื่องจากทำงานมานาน
การละเลยไม่เอาใจใส่หรือมีทัศนคติผิด ๆในเรื่องความปลอดภัย
เครื่องป้องกันอันตรายหรือเครื่องกั้นจัดไว้ให้ แต่ไม่ใช้หรือถอดออก
ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ไม่ถูกต้องกับลักษณะของงานที่ทำ ถึงแม้ว่าจะมีเครื่องมือที่ถูกต้องให้เลือกใช้ได้เหมาะสมก็ตาม
ยกของด้วยวิธีผิด ๆ จนน่าจะเกิดอันตราย
อริยาบทในการเคลื่อนไหวน่าจะเกิดอันตราย เช่น การเดิน การวิ่ง การกระโดด การก้าว การปีนป่าย
การหยอกล้อ หรือล้อเล่นในระหว่างการทำงาน
3. สภา***ร่างกายของบุคคล
เมื่อยล้า เนื่องจากทำงานตลอดเวลาโดยไม่มีการหยุดพัก
อ่อนเพลีย เนื่องจากไม่สบายเป็นไข้แล้วเข้าทำงานหนัก
หูหนวก
สายตาไม่ดี
โรคหัวใจ
สภาพร่างกายไม่เหมาะกับงาน
4. สภา***จิตใจของบุคคล
ขาดความความตั้งใจในการทำงาน
ขากความสามารถในการควบคุมอารมณ์ในขณะทำงาน
ตื่นเต้นง่าย ขวัญอ่อน ตกใจง่าย
5. อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักร มีข้อบกพร่องอาจเนื่องจากสาเหตุ เช่น
ใช้เครื่องมือไม่ถูกขนาด
ใช้เครื่องมือที่สึกหรอชำรุด ทื่อ หัก
ใช้เครื่องมือที่ปราศจากด้ามหรือที่จับที่เหมาะสม
ไม่ใช้เครื่องป้องกันอันตราย
จับตั้งงานไม่ได้ขนาด และไม่มั่นคง
ละเลยต่อการบำรุงรักษา เช่น น้ำมันหล่อลื่นไม่เพียงพอ
6. สภาพของบริเวณปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย เช่น
แสงสว่างไม่เพียงพอ
เสียงดังมากเกินไป
การระบายอากาศที่ไม่เหมาะสม
ความสกปรก
บริเวณที่คับแคบ
มีสารเคมี และเชื้อเพลิง
พื้นที่ลื่น เนื่องจากคราบน้ำมัน
หลุมและสิ่งกีดขวางทางเดิน
การสูญเสียเนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุ

การที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นแต่ละครั้งย่อมหมายถึงการสูญเสียเกิดขึ้นทุกครั้ง เช่น การสูญเสียเงิน สูญเสียเวลา อย่างไรก็ดี คงไม่มีผู้ใดปรารถนาจะให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น

1.การสูญเสียโดยตรง
ได้รับบาดเจ็บ พิการ หรือตาย และอาจทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายด้วย
ทำให้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ตลอดจนทรัพย์สินอื่น ๆชำรุดเสียหาย
การสูญเสียที่คิดเป็นเงินที่นายจ้างหรือรัฐบาลต้องจ่ายโดยตรง ให้แก่ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินทดแทนที่ต้องจ่ายโดยรัฐหรือโรงงาน ค่าทำขวัญ
2. การสูญเสียโดยทางอ้อม คือ การสูญเสียซึ่งมักจะคิดไม่ถึง หรือไม่ค่อยได้คิดว่าเป็นการสูญเสียเป็นลักษณะการสูญเสียที่แฝงอยู่ไม่ปรากฏเด่นชัด เช่น
สูญเสียแรงงานของลูกจ้างที่ได้รับบาดเจ็บ จะต้องใช้เวลาพักฟื้นจนกว่าจะหาย
สูญเสียเวลาของลูกจ้างคนอื่น ๆ ซึ่งหยุดทำงานในขณะเกิดอุบัติเหตุด้วยเหตุผลต่อไปนี้ ความอยากรู้อยากเห็นเข้าไปมุงดู ซักถามเหตุการณ์ด้วยความเห็นใจลูกจ้างผู้บาดเจ็บ ตื่นเต้น หรือช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในการทำปฐมพยาบาลหรือนำส่งโรงพยาบาล
สูญเสียเวลาของแพทย์หรือพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในการปฐมพยาบาล
ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเครื่องจักรกล เครื่องมือ
ทำให้ปริมาณผลผลิตขาดหายไป ผลิตให้ผู้ใช้ไม่ทันเวลา เงินรางวัล โบนัสประจำปีลดน้อยลงไป
สูญเสียผลกำไรส่วนหนึ่งไป เนื่องจากลูกจ้างบาดเจ็บและเครื่องจักรหยุดทำงาน
ทำให้คนงานขวัญเสีย เกิดความกลัว ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
อันตรายจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน

การทำงานในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น จะต้องสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไป ทำให้แต่ละคนได้รับพิษภัย และการเกิดโรคอันเนื่องมาจากการทำงานแตกต่างกันไปตามสถานะภาพ ในหน้าที่การงานของแต่ละคน อันตรายจากสิ่งแวดล้อมในการทำงานพิจารณาได้ดังนี้

เสียงดัง คนทำงานโดยทั่วไปประมาณวันละ 8 ชั่วโมง จะรับระดับเสียงได้ไม่เกิน 90 เดซิเบล ถ้าดังเกินไปจะทำให้หูตึง และอาจหูหนวกได้
แสงสว่าง แสงสว่างมากเกินไป อาทิ เช่น จากเตาหลอม ไฟเชื่อม ทำให้ตาฝ้า ตามัว และอาจบอดได้
ความร้อน ถ้าไม่มีการป้องกันความร้อนที่ดีแล้วอาจได้รับอันตรายจากความร้อน เช่น ทำให้อ่อนเพลียไม่มีแรง หน้ามืดบ่อย ๆ และอาจเป็นลมสลบได้
ความกดดัน อากาศในบริเวณปฏิบัติงานที่มีความกดดันสูงกว่าปกติ จะทำให้เกิดอาการปวดหู อาจทำให้เยื่อหูฉีกขาด และทำให้หูหนวกในที่สุด
ความสั่นสะเทือน อาจทำให้ เนื้อเยื่ออ่อนของมือ เกิดอาการอักเสบลุกลามไปถึงกระดูกข้อมือ หรือทำให้กล้ามเนื้อมือเป็นอัมพาตหรือทำให้อวัย***บางส่วนลีบได้
สารเคมี ฝุ่น ไอ ควัน ละอองแก๊สของสารพิษสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทางคือ
โดยการหายใจ สารเคมีเมื่อเข้าไปถึงปอดจะถูกดูดซึมอย่างเร็วทำให้เกิดโรคปอดได้
โดยการดูดซึมทางผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเป็นแผล เกิดอาการเป็นพิษต่อระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกาย
โดยการกินเข้าไป
สิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตราย

การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับวัสดุบางชนิดอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ วัสดุเหล่านี้ได้แก่

วัสดุที่มีขอบแหลมคม
วัสดุที่วางไว้ในที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่มีสิ่งจับยึด แขวนไว้เหนือศรีษะโดยไม่มีเครื่องป้องกันอันตราย หรือวางไว้เกะกะบนพื้น
วัสดุที่ติดไฟได้ง่าย เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ขยะมูลฝอย
สารเคมีที่เป็นพิษ
วัสดุที่มีอุณหภูมิสูง เช่น โลหะที่เผาจนร้อนจัด น้ำร้อน
ไอน้ำหรืออากาศที่มีความดันสูง เช่น หม้อไอน้ำ เครื่องปั้มลม
สื่อไฟฟ้าที่ปราศจากฉนวนหุ้ม
บันไดที่หัก หรือนั่งร้านที่ไม่แข็งแรงนั่นเอง
หลักความปลอดภัยในการทำงานโดยทั่วไป

จะต้องยอมรับ และปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของโรงงานโดยเคร่งครัด
ใช้เครื่องมือให้ถูกวิธี ถูกขนาด และถูกกับงาน
แต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบของโรงงาน และใช้เครื่องป้องกันอันตรายทุกครั้งที่ปฏิบัติงานที่กำหนดให้ใช้เครื่องป้องกัน
หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือหรือเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย หรืออยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน
เก็บรักษาอุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ เมื่อนำไปใช้งานต้องเก็บไว้ให้ถูกจุดทุกครั้ง
รักษาความสะอาดทางเดินในโรงงาน และติดป้ายแสดงให้ชัดเจนที่บริเวณปฏิบัติงานที่มีอันตราย
รู้จักตำแหน่ง หรือที่ติดตั้งเครื่องดับเพลิงตลอดจนวิธีการใช้
ปฏิบัติตามคำเตือนหรือเครื่องหมายแสดงอันตรายใด ๆ ภายในโรงงาน
อย่าวิ่งหรือหยอกล้อกันในโรงงาน
ในกรณีเกิดอุบัติเหตุให้รีบช่วยเหลือทันที
เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หมายถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่สวมใส่ลงบนอวัย***ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือหลาย ๆส่วนรวมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายให้แก่อวัย***ส่วนนั้น ๆ ไม่ให้ต้องประสบกับอันตราย คือ เป็นการป้องกันอันตรายจากสภา***แวดล้อมในการทำงาน

เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลแบ่งออกเป็นชนิดตามลักษณะที่ใช้ป้องกันได้ดังนี้

1.เครื่องป้องกันศีรษะ เช่น หมวกนิรภัย เป็นเครื่องสวมใส่ศีรษะ มีลักษณะแข็งแกร่ง ทำด้วยวัสดุที่แตกต่างกันไป เพื่อป้องกันศีรษะของคนงานซึ่งไม่เพียงแต่จากการกระแทก แต่รวมทั้งวัตถุที่ปลิวหรือกระเด็นมาโดน และไฟฟ้าช็อต หมวกนิรภัย ชนิดถูออกแบบให้ส่งผ่านแรงเฉลี่ยที่มากที่สุดได้ไม่เกิน 850 ปอนด์ ตัวหมวกและรองในหมวกต้องห่างภัยไม่ต่ำกว่า 3 ซม.
2.เครื่องป้องกันตาและใบหน้า การทำงานในลักษณะของงานที่อาจเป็นอันตรายแก่สายตาและใบหน้า ต้องสวมใส่อุปกรณ์ เช่นแสงจ้าชนิดที่มีอุลตร้าไวโอเลต ป้องกันโดยใช้หน้ากากกรองแสง ดังในกรณีงานเชื่อมและหน้ากากป้องกันเศษโลหะในกรณีทำงานกับหินเจียรนัย

3.เครื่องป้องหันอันตรายขาดการหายใจ

ชนิดเป็นถุงอากาศช่วยในการหายใจ อุปกรณ์นี้เหมาะจะใช้กับบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารเคมีเป็นพิษสูง ที่มีไอน้ำหนาแน่น หรือในที่ขาดออกซิเจน
หน้ากากที่มีเครื่องเป่าอากาศ ชนิดนี้จะใช้ได้ดีในลักษณะงานที่ทำในที่อับทึบ อุโมงค์ ท่อขนาดใหญ่งานประมาณนี้จะอ๊อกซิเจนไม่เพียงพอหรือมีสารเคมีเป็นพิษปะปนอยู่มาก เครื่องเป่าอากาศ (Blower)ทำหน้าที่เป่าอากาศเข้ามา ท่อส่งอากาศปกติจะยาวไม่เกิน 150 ฟุต ต่อเข้ากับหน้ากาก
หน้ากากใช้กรองสารเคมี อุปกรณ์ชนิดนี้ประกอบด้วยหน้ากากปิดครึ่งใบหน้า มีที่กรองอากาศติดอยู่ที่บริเวณจมูก 1-2 อัน ทำหน้าที่กำจัดไอหรือแก๊สพิษที่จะหายใจเข้าไป
เครื่องกรองฝุ่นชนิดนี้จะใช้กรองฝุ่นโดยเฉพาะ หน้ากากทำด้วยยางหรือ พลาสติก ปิดจมูกโดยมีแผ่นกรองบาง ๆ เป็นตัวจับฝุ่นเอาไว้ไม่ให้เข้าไปกับอากาศที่ผ่านเข้าไป
4.เครื่องป้องกันหู จากการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเสียงนั้น พบว่าถ้าหากหูของคนต้องสัมผัสกับเสียงที่ดังเกินกว่า 90 เดซิเบลแล้ว จะทำให้เกิดอันตรายต่อการได้ยิน วิธีที่จะช่วยลดความดังของเสียงลงมานั้น การป้องกันที่ตัวคน คือการใช้เครื่องป้องกันหู ปกติจะแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้หลายชนิดดังนี้
ที่อุดหู ใช้อุดหูทั้งสองข้าง โดยสอดใส่เข้าไปในช่องหู ออกแบบให้มีขนาดพอเหมาะกับรูหู จะมีผลในการป้องกันเสียงมาก วัสดุที่ใช้ทำนั้น มีหลายชนิด เข่น พลาสติกอ่อน ยาง สำลี ชนิดที่ทำจากยางและพลาสติกใช้มากที่สุด
ที่ครอบหู เป็นเครื่องป้องกันเสียงชนิดครอบใบหูทั้งสองข้าง บางชนิดมีลำโพงสำหรับใช้พูดติดต่อกันได้ในสถานที่มีเสียงดัง
5.ชุดพิเศษในโรงงานอุตสาหกรรมปัจจุบันนี้สิ่งแวดล้อมภายในโรงงานต้องสัมผัสต่อไปความร้อนโลหะละลาย สารเคมี จึงต้องชุดป้องกันพิเศษสำหรับงานนั้นๆ โดยเฉพาะลงไป เช่น
เช่นเสื้อหนังหรือแผ่นหนังปิดหน้าอก เป็นชุดที่จะป้องกันร่างกายของคนเราไม่ให้ถูกความร้อน และการแผ่ความร้อนที่เกิดจากโลหะถูกเผาและการรับรังสีอินฟราเรดและอุลตร้าไวโอเลต
ถุงมือและปลอกแขน สารที่มาทำถุงมือและปลอกแขนขึ้นอยู่กับงานสำหรับเบาอาจทำด้วยผ้า สำหรับงานที่เกี่ยวกับวัตถุที่คมและความร้อนใช้หนังสัตว์ทำ หรือทำด้วยตาข่ายโลหะก็จะต้องกันคมได้ดี
เสื้ออลูมิเนียม เมื่อคนต้องทำงานเกี่ยวกับความร้อนที่มี อุณหภูมิประมาณ 2000 องศาฟาเรนไฮด์ เช่น ในที่มีการหลอมโลหะ เสื้ออลูมิเนียมมันจะสะท้อนรังสีความร้อนที่แผ่ออกมา ชุดนี้ประกอบด้วย กางเกง เสื้อคลุม ถุงมือ รองเท้าหุ้มข้อ และที่ครอบศีรษะ
6.รองเท้านิรภัย อาจจะเป็นรองเท้าธรรมดา ใส่เครื่องป้องกันครอบลงไปหน้ารองเท้า ควรจะรับน้ำหนักได้ 2500 ปอนด์ และแรงกระแทก 50 ปอนด์ รองเท้านิรภัยจะมีโลหะป้องกันที่หัวรองเท้า อยู่ที่หัวรองเท้าอยู่ข้างในใช้ในงานที่มีการเคลื่อนย้ายวัตถุที่หนัก
7.เข็มขัดนิรภัย เข็มขัดนิรภัยที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม หรือใช้ในการทำความสะอาดหน้าต่างภายนอกตึกสูง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

ชนิดธรรมดา ชนิดนี้จะใช้สำหรับรับน้ำหนักของตัวผู้ใช้ในขณะทำงานให้สามารถทำงานได้โดยสะดวก ซึ่งอาจจะขึ้นไปทำงานในที่สูงหรือทำงานในที่ต่ำลงไป
ชนิดที่ใช้ยามฉุกเฉิน ใช้ป้องกันไม่ให้คนทำงานตกลงมาในเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นระหว่างการทำงาน

สิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ

สิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ

         สิ่งแวดล้อมอาจจำแนกตามสถานที่แบ่งออกได้เป็น๔แหล่งใหญ่ ๆคือ สิ่งแวดล้อมในบ้าน สิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน สิ่งแวดล้อมในชุมชนหรือท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน ซึ่งสิ่งแวดล้อมดังกล่าวนั้นอาจทำให้เกิดมลพิษต่างๆได้มากมาย ทั้งมลพิษทางน้ำ ทางอากาศ  ทางอาหาร หรือทางดิน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วปัญหาสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ล้วนเกิดมาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น และเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ก็ส่งผลสะท้อนกลับเข้าหาตัวของมนุษย์นั่นเอง ดังนั้นแนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงไม่ใช่การแก้ไขปัญหาทีละส่วน หากแต่ต้องแก้ไขไปพร้อมๆกัน ทั้งในด้านเทคนิค ด้านของการควบคุมและด้านของการจัดการของหน่วยงานหรือบุคคลที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นๆร่วมกัน จึงจะทำให้สามารถบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ในที่สุด
๑ ประเภทของสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดสภาพปัญหาสุขภาพ
        สิ่งแวดล้มที่มีผลต่อสุขภาพ อาจจะพิจารณาในแง่มุมที่เป็นตัวแทนของพื้นที่หรือขอบเขตของสถานที่ได้ดังนี้
        ๑.๑) สิ่งแวดล้อมในบ้าน เป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ชิดตัวเรามากที่สุด การสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมประเภทนี้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาที่เราอยู่ภายในบ้าน เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหารเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับน้ำดื่ม ประเภทของอาคาร โดยพบว่าอาคารแต่ละแบบก็มีโอกาสที่จะก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้แตกต่างกัน เช่น อาคารที่เป็นตึก ก็จะมีผลที่แตกต่างจากอาคารที่เป็นไม้และบางครั้งก็ทาสีภายในอาคาร ก็ส่งผลต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่ากิจกรรมทางด้านการเกษตรหรืออุตสาหกรรมที่ดำเนินอยู่ภายในหรือรอบบริเวณบ้าน งานอดิเรก สารเคมีกำจัดแมลงและศัตรูพืชที่ใช้ในบ้านเรือนและสวน และรวมถึงนิสัยการรับประทานอาหารของครอบครัวและบุคคลด้วย จึงเห็นได้ว่าสิ่งแวดล้อมต่อไปนี้สัมผัสหรือเกี่ยวข้องกับตัวเราอยู่ตลอดเวลา
       ๑.๒) สิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน คนเราอาจจะใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตในสภาพแวดล้อมของการประกอบอาชีพ เช่นสถานที่ทำงานในสำนักงาน โรงงาน เหมืองแร่ ฯลฯ ซึ่งที่เหล่านี้อาจจะมีสภาพปัญหาแวดล้อมและประเภทของการสัมผัสสารเคมีที่มีลักษณะเฉพาะ หรือการใช้เวลาในโรงเรียนหรือสถานศึกษาอื่นๆก็อาจจะนำมาพิจารณาภายใต้หัวข้อนี้ได้
       ๑.๓) สิ่งแวดล้อมในชุมชนหรือท้องถิ่น คนๆหนึ่งอาจจะได้รับสัมผัสกับมลพิษทางอากาศที่มีสาเหตุมาจากการจราจร หรือุตสาหกรรมในท้องถิ่น หรือรับสัมผัสสารเคมีที่รั่วไหลออกมาจากสถานที่ทิ้งขยะในท้องถิ่น หรือเสียงดังจากการจารจรเป็นต้นซึ่งเหล่านี้มักเกิดในบริเวณที่คนเหล่านั้นอาศัยอยู่
       ๑.๔) สิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน ซึ่งหมายถึงสิ่งแวดล้อมในระดับทางภูมิภาค ระดับชาติ ระดับระหว่างประเทศ และระดับโลก การสัมผัสกับสิ่งคุกคามที่เกี่ยวข้อง ได้แก่มลพิษทางอากาศ เช่น การเกิดควันพิษจากการเผาป่าในประเทศอินโดนีเซียที่ส่งผลกระทบถึงภาคใต้ของประเทศไทย เป็นต้น มลพิษทางแม่น้ำหรือทะเล การขนกากของเสียอันตรายจากประเทศหนึ่งสู่อีกประเทศหนึ่ง มลพิษทางกัมมันตภาพรังสีจากอุบัติเหตุนิวเครียร์ การสัมผัสรังสีอัลตราไวโอเลต อันเป็นผลที่เกิดจากการลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศ และการเปลี่ยนแปลงของโรคที่เกิดจากแมลงที่เป็นพาหะอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก เป็นต้น   
๒ ปฏิกิริยาลูกโซ่ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ
สิ่งแวดล้อมนั้นมีความเชื่อมโยงต่อสุขภาพอย่างมาก โดยผ่านการรับสัมผัสของมนุษย์ที่มีต่อมลพิษต่างๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วก็เกิดจากกิจกรรมหรือการกระทำของมนุษย์เกือบทั้งสิ้น เมื่อมนุษย์ได้สัมผัสสารมลพิษแล้วก็จะเกิดผลต่อสุขภาพได้ อาจเป็นเพียงการแสดงอาการเล็กน้อย การเจ็บป่วย หรือที่ร้ายแรงที่สุดคือการเสียชีวิต ซึ่งสามารถแสดงขั้นตอนหรือปฏิกิริยาลูกโซ่ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพได้ 
       ๒.๑) มลพิษทางน้ำ น้ำเป็นสิ่งที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิต การพัฒนาด้าวสาธารณสุขขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพของน้ำ นับตั้งแต่การผลิตอาหารด้วยเกษตรกรรม การเพาะพันธุ์สัตว์ การปรุงอาหาร ตลอดจนอุตสาหกรรมอาหารต่างๆดันนั้นการปนเปื่อนของน้ำจึงส่งผลต่อคุณภาพของอาหารทำให้เกิดพิษภัยได้ทั้งอย่างเฉียบพลันและเรื้อรัง
              การรักษาคุณภาพน้ำของประเทศไทยไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรร ดังนั้นจะเห็นได้จากคุณภาพของแหล่งน้ำที่ต่ำกว่ามาตรฐานมีอยู่หลายแห่งโดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นลำน้ำสายหลักของประเทศ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำนั้นได้แก่
         - สิ่งปฏิกูลจากชุมชน ทำไห้มีการปนเปื้อนจากเชื่อโรคในอุจจาระและปัสสาวะ
         - อินทรียจากชุมชน เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่ในสภาพของน้ำทิ้ง ขยะมูลฝอยต่างๆทำให้ระดับออกซิเจนในน้ำลดต่ำลง เนื่องจากถูกนำไปใช้ในการย่อยอินทรียสารเหล่านี้และเมื่อออกซเจนออกไปก็จะมีการย่อยโดยไม่ใช้ออกซิเจน ทำให้เกิดก๊าซมีเทน ก๊าซไข่เน่าขึ้น ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว
        - อนินทรียสารและสารพิษต่างๆ กิจกรรมต่างๆ ทั้งในครัวเรือน ในภาคเกษตรกรรม การทำเหมืองแร่ โรงงานต่างๆ มีการปล่อยสารเคมีและสารพิษต่างๆหลายอย่างลงสู่แม่น้ำ เช่น โลหะหนัก สารกำจัดศัตรูพืช และสารก่อมะเร็งอื่นๆ โดยเคยมีการตรวจพบสารไดออกซิน ซึ่งสามารถก่อมะเร็งและกดระบบภูมิค้มกันของร่างกายได้ จากระบบระบายน้ำทิ้งของโรงงานผลิตเยื่อกระดาษในจังหวัดขอนแก่นเป็นต้น
      ๒.๒) มลพิษทางอากาศ ระดับของฝุ่นละอองในเมืองใหญ่หลายแห่งเป็นปัญหาที่สำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศอันเนื่องมาจากการก่อสร้างต่างๆ การจราจรที่คับคั่งการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ในยวดยานต่างๆรวมไปถึงการที่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆไม่มีการเข้มงวดในเรื่องของการปลดปล่อยสารมลพิษทางอากาศเท่าที่ควร ล้วนแต่ส่งผลทำให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร และเมืองใหญ่ๆที่มีปัญหาในเรื่องนี้ค่อนข้างมาก เช่น ปัญหาแก๊สพิษต่างๆเป็นต้น
     ๒.๓) การปนเปื้อนของสารมลพิษในวงจรอาหาร จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขในระหว่างปี พ.ศ. 2539-2540 พบว่าอาหารและผลผลิตทางการเกษตรมีการปนเปื้อนด้วยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชถึงร้อยละ 30 แต่ที่เกินระดับมาตราฐานของนานาชาติ (CODEX) คือร้อยละ 5-6 ของผักและผลไม้ที่จำหน่ายภายในประเทศ และร้อยละ 7 ของเนื้อสัตว์ที่ส่งออก ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนอย่างมาก หรืออาจพิจารณาจากการที่สินค้าทางด้านการเกษตรของเราหลายอย่างถูกตีกลับจากต่างประเทศ เนื่องจากไม่ผ่านมาตราฐานทางด้านอาหารของประเทศนั้นๆ เช่น การถูกส่งกลับลำใยสดจากประเทศจีน การถูกส่งกลับกุ้งแช่แข็งจากประเทศในเครื่อสหภาพยุโรป เหล่านี้เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าปัญหาสิ่งแวดล้อม ในด้านของการปนเปื่อนอาหาร ไม่ใช่ปัญหาที่ไกลตัวเราอีกแล้ว หากแต่มีผลกระทบต่อสุขภาพของเราโดยตรง นอกจากนี้ในด้ายของน้ำที่ใช้ในการบริโภค อุปโภค ก็พบว่ามีคุณภาพที่ต่ำกว่ามาตราฐาน โดยเฉพาะน้ำบริโภคในเขตชนบทที่ห่างไกล เนื่องมาจากระบบการประปายังไม่ดีพอ หรือไม่ทั่วถึง และประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของอาหาร คือสุขลักษณะของสถานที่ประกอบอาหาร ซึ่งพบว่ายังไม่ได้มาตราฐานอีกหลายแห่ง โดยเฉพาะโรงฆ่าสัตว์ต่างๆที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตราฐานค่อนข้างมาก 
     ๒.๔) มลพิษทางดิน ในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรเป็นจำนวนมาก ทั้งในรูปของปุ๋ยและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้คุณภาพของดินต่ำลง เกิดปัญหาของผลผลิดทางด้านเกษตรคุณภาพของผลผลิดต่ำลง และเกิดการปนเปื้อนของสารมลพิษต่างๆขึ้น
            เมื่อมนุษย์สัมผัสสารพิษเหล่านั้น ก็จะเกิดการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพตามมา ซึ่งอาจจะเกิดเพียงเล็กน้อย จนกระทั้งเจ็บป่วยและเสียชีวิตในที่สุด ทั้วนี้ย่อมขึ้นอยู๋กับความเป็นพิษของสารที่สัมผัสนั้นๆความรุนแรงของการสัมผัส และภูมิไวรับของบุคคลนั้นเองด้วยโดยที่กระบวนการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเนื้องจากปัจจัยในเรื่องของการเจริญเติบโตของประชากร การพัฒนาเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่นีอยู๋ ที่เป็นตัวการกระตุ้นให้เกิดอันตรายจากสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและเพิ่มโอกาสในการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษเหล่านี้มากขึ้นด้วย ซึ่งแนวทางแก้ไขนั้นจำเป็นที่จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบในแต่ละขั้นตอนของลูกโซ่ที่ปรากฎ
๓ ทิศทางการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
    แนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยนั้นมีแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้
     ๓.๑) การแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิค เช่น การบำบัดน้ำเสียโดยการสร้างบ่อกำจัดน้ำเสีย การสร้างที่เก็บของเสีย การสร้างโรงงานกำจัดขยะ หรือการติดตั้งเครื่องกรองอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่สามารถที่แก้ไขปัญหาต่างๆให้หมดไปได้ จำเป็นจะต้องใช้วิธีการอื่นๆร่วมด้วย
     ๓.๒) การควบคุมโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ประเทศไทยได้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหลายฉบับ โดยในบรรดากฎหมายต่างๆเหล่านี้กฎหมายที่ถือว่าเป็นกฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เพราะเป็นกฎหมายที่มีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในลักษณะครอบคลุมทุกด้าน มีมาตราการควบคุมและแก้ไขอย่างพอเพียง โดยแนวทางที่ไช้บังคับตามกฎหมายฉบับนี้คือ การใช้หลักผู้สร้างมลพิษเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายที่ทำให้เกิดมลพิษนั้นๆแต่ในปัจจุบันหลักการนี้ยังไม่สามารถที่จะใช้ได้ครอบคลุม ยังต้องใช้หลักที่ผู้รับผลประโยชน์ต้องเป็นผู้จ่ายร่วมด้วย
     ๓.๓) การแก้ไขด้วยการจัดการ เป็นแนวทางของการผสมผสานองค์ประกอบต่างๆของกระบวนการมาสู่การดำเนินการอย่างเป็นระบบ เช่น
       - การใช้เทคโนโลยีสะอาด หมายถึง การปรับเปลี่ยนวัตถุดิบ ปรับปรุงระบบการทำงาน การนำกลับมาใช้ใหม่ ปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี ปรับเปี่ยนผลิตภัณฑ์ เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต
       - การควบคุมคุณภาพ โดยประยุกต์ใช้ ระบบ ISO 14000 ซึ่งเป็นมาตราฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่เน้นมุ่งให้ความสำคัญกับสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม ซึ่ง ISO 14000 นี้กำลังได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆของไทย แต่ตังปัญหาที่สำคัญคือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีจำนวนมาก ยังไม่ให้ความสนใจในการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร
    จะเห็นได้ว่าการจัดการสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยนั้น ไม่สามารถที่จะดำเนินการได้โดยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงลำพัง หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น หากแต่ต้องอาศัยการผสมผสานวิธีการที่หลากหลาย อย่างเป็นระบบ จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้หมดไปได้  

ยาสมุนไพร

        พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ  และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด
          ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด
         ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า  " ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม"
          บทความข้าต้นเป็นส่วนหนึ่งในคำนำของหนังสือ "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด" ซึ่งเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข  หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รวบรวมและเรียบเรียง ได้บันทึกไว้ ซึ่งต่อมาทางสำนักอนามัยฯ ได้นำหนังสือดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ประโยชน์ในงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  การนี้ ทางโครงการฯ เห็นว่าเนื้อหาในหนังสือมีคุณค่าและให้ประโยชน์กับผู้ที่ร่วมงานกับโครงการฯ รวมถึงบุคคลทั่วไป จึงได้นำขึ้นเผยแพร่ในเวบไซต์โครงการฯ
          จึงหวังว่าผู้ที่เข้ามาหาข้อมูลและได้อ่านเรื่องต่างๆ ในเวบไซต์นี้คงได้รับความรู้และอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองหรือบุคคลรอบข้างได้ไม่มากก็น้อย..