ภาพยนตร์โฆษณา - ต่อต้านคอร์รัปชั่น

ภาพยนตร์โฆษณา - ต่อต้านคอร์รัปชั่น

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

พระราชประวัติรัชกาลที่ 7


พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว




พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งราชจักรีวงศ์

พระราชสมภพ เมื่อ วันพุธ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะเส็ง เวลา ๑๒.๒๕ นาฬิกา ตรงกับวันที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๓๖ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๗๖ ในพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นปีที่ ๙ ในสมเด็จพระพันปีหลวง (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ) เสวยราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๙ ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ รวมพระชนมพรรษา ๔๘ พรรษา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอภิเษกสมรส กับ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี (หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัฒน์) ไม่มีพระราชโอรส-พระราชธิดา

พระนามเต็ม

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว มีพระนามเต็ม "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี เทพยปรียามหาราชรวิวงศ์ อสัมภินพงศพีระกษัตรบุรุษรัตนราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถจุฬาลงกรณ ราชวรางกูร มหมกุฏวงศวีรสูรชิษฐ ราชธรรมทศพิธ อุต์กฤษฎานิบุณย์อดุลยฤษฎาภินิหาร บูรพาธิการสุสาธิต ธันยลักษณ์วิจิตรเสาวภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคมานท สนธิมตสมันตสมาคม บรมราชสมภาร ทิพยเทพวตารไพศาลเกียรติคุณ อดุลยศักดิเดช สรรพเทเวศปริยานุรักษ์ มงคลลคนเนมาหวัยสุโขทัยธรรมราชา อภิเนาวศิลปศึกษาเดชาวุธ วิชัยยุทธศาสตร์โกศล วิมลนรรยพินิต สุจริตสมาจาร ภัทรภิชญาณ ประดิภานสุนทร ประวรศาสโนปสุดมภก มูลมุขมาตยวรนายกมหาเสนานี สราชนาวีพยูหโยธโพยมจร บรมเชษฏโสทรสมมต เอกราชยยศสธิคม บรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร ศรีรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิศิกต์ สรรพทศทิศวิชิตเดโชไชย สกลมไหศวรยมหาสยามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาธิไตรรัตนวิศิษฎศักดิ์อัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาศีตลหฤทัย อโนปไมย บุณยการ สกลไพศาลมหารัษฎราธิบดินทร์ ปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 ทรงมีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดชน์ ธเนศรมหาราชาธิราชจุฬาลงกรณ์นาถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธิ์ มหามงกุฎราชพงศบริพัตรบรมขัตติยมหารัชฎาภิษิยจนพรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร” พระนามทั่วไปเรียกว่า “ทูล กระหม่อมเอียดน้อย”

เมื่อเยาว์วัยทรงศึกษาวิชาภาษาไทย และราชประเพณีโบราณ ต่อมาครั้นทรงโสกันต์แล้วทรงเสด็จไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2449 ในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 13 พรรษา ทรงเริ่มรับการศึกษาในวิชาสามัญในวิทยาลัยอีตันซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยม ชั้นหนึ่งของประเทศอังกฤษ เมื่อสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยอีตันแล้ว ทรงสอบเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารที่เมืองวูลิช (ROYAL MILITARY ACADEMY COUNCIL) ทรงเลือกศึกษาวิชาทหารแผนกปืนใหญ่ม้า

แต่ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ทรงเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2453 พระองค์จึงได้เสด็จกลับประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมพิธีพระบรมศพ แล้วจึงเสด็จกลับไปศึกษาต่อเมื่อสำเร็จการศึกษา ในปี พ.ศ. 2456 ทรงเข้าประจำการ ณ กรมทหารปืนใหญ่ม้าอังกฤษที่เมืองอัลเดอร์ช้อต (ALDERSHOT) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2457 ซึ่งเป็นช่วงเวลาการซ้อมรบ โดยรัฐบาลอังกฤษตามความเห็นชอบของที่ประชุมกองทหาร (ARMY COUNCIL) และได้รับอนุญาตให้ทรงเครื่องแบบนายทหารอังกฤษสังกัดใน “L” BATTERY FOYAL HORSE ARTILLERY ทรงได้รับสัญญาบัตรเป็นนายทหาร ยศร้อยตรีกิตติศักดิ์ แห่งกองทัพอังกฤษ และในกาลที่พระองค์สำเร็จการศึกษาจากสถานทีนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งพระยศนายร้อยตรีนอกกอง สังกัดกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นนายร้อยโท และนายทหารนอกกอง สังกัดกรมทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์

ในปี พ.ศ. 2457 ได้เกิดสงครามโลกขึ้นในยุโรป แต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริเห็นว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ยังทรงศึกษาวิชาการทหารได้เพียงครึ่งๆ กลางๆ หากจะกลับมาเมืองไทยก็ยังทำคุณประโยชน์แก่บ้าน เมืองยังไม่ได้เต็มที่ ดังนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจรูญศักดิ์ กฤษดากร ทรงจัดหาครูเพื่อสอนวิชาการเพิ่มเติมโดยเน้นวิชา ที่จะเป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง ในวิชากฎหมายระหว่างประเทศ พงศาวดารศึก และยุทธศาสตร์การศึก ครั้งสงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมาก และการหาครูมาถวายพระอักษรก็ลำบาก เนื่องด้วยนายทหารที่มีความสามารถต้องออกรบในสงคราม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอพระราชดำเนินกลับประเทศไทย แต่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอมีความประสงค์ที่จะเสด็จร่วมรบกับพระสหายชาว อังกฤษ หากแต่พระเจ้ายอร์ซที่ 5 ไม่สามารถทำตามพระราชประสงค์ เนื่องด้วยพระองค์เป็นคนไทยซึ่งเป็นประเทศเป็นกลางในสงคราม สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอจึงจำเป็นต้องเสด็จกลับประเทศไทยในเดือนเมษายน พ.ศ. 2458

ครั้นเมื่อเสด็จกลับประเทศไทย ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายทหารคนสนิทพิเศษจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถซึ่งเป็นพระเชษฐาในพระองค์ ต่อมาพระองค์ได้เลื่อนเป็นผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์และเป็น ร้อยเอกต่อมาเสด็จเข้ารับราชการประจำกรมบัญชาการกองพันน้อยที่ 2 ในตำแหน่งนายทหารเสนาธิการและต่อมาเลื่อนเป็นนายพันตรี แล้วเป็นพันโทบังคับการโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอทรงปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งหน้าที่การงานต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยมาโดยตลอด ต่อมาทรงลาราชการ เพื่อทรงผนวช ณ อุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปี พ.ศ. 2460 โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วเสร็จประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอลาผนวชและเสด็จเข้ารับราชการเป็นที่เรียบร้อย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณตรัสขอหม่อมเจ้า หญิงรำไพพรรณีให้และประกอบพระราชพิธีอภิเษกสมรส ณ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2461 พระองค์ทรงประสบปัญหากับพระโรคเรื้อรัง จึงจำเป็นต้องลาราชการไปพักรักษาตัวในที่ ๆ มีอากาศเย็นตามความเห็นของคณะแพทย์ พระองค์เสด็จ ไปรักษาตัวที่ยุโรปในปี พ.ศ. 2463 ครั้นพระองค์ทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ทรงเข้าศึกษาวิชาการในโรงเรียนนายทหารฝ่ายเสนาธิการฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส จนสำเร็จการศึกษาเสด็จกลับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2464 หลังจากนั้นอีก 4 ปี ทรงเข้ารับราชการอีกครั้งโดยพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า โปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการในตำแหน่งปลัดกรมเสนาธิการทหารบก และเลื่อนพระยศขึ้นเป็นนายพันเอก ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 2 และเป็นผู้บังคับการพิเศษกรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 ในคราวเดียวกัน และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาครั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พ.ศ. 2468 พระองค์ก็ได้เสด็จ เถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468

เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมั่นคงอยู่ในทศพิธราชธรรม ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็น ประโยชน์แก่บ้านเมืองหลายด้านหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินพระราชหฤทัยครั้งสำคัญ เมื่อครั้งเกิดปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ทรงยินยอมที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญตามการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ทั้ง ๆ ที่พระองค์ก็ยังมีกองทัพที่จงรักภักดีพอที่จะต่อสู้กับ คณะราษฎร ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ ต่อมาเมื่อรัฐบาลในขณะนั้นได้ใช้การปกครองไม่ตรงกับหลักการของพระองค์และทรงเห็นว่าพระราชประสงค์ที่จะให้ประเทศไทยมีการ ปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงไม่บรรลุผลสำเร็จ จึงทรงกล้าหาญเด็ดเดี่ยวอย่างยิ่งด้วยการสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ในขณะที่พระองค์ประทับรักษาพระเนตรอยู่ในประเทศอังกฤษ เพื่อเปิดหนทางให้ผู้ที่เหมาะสมกว่าเข้ามาทำหน้าที่แทนพระองค์สืบไป ดังพระราชหัตถเลขาว่า ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของ ข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจ ทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดย สิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร" -พระราชหัตถเลขา สละราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์ทรงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ และเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยพิการ ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 รวม พระชนมายุ 48 พรรษา

พระราชลัญจกรประจำพระองค์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น