ภาพยนตร์โฆษณา - ต่อต้านคอร์รัปชั่น

ภาพยนตร์โฆษณา - ต่อต้านคอร์รัปชั่น

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส


ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส
     เท่าที่มีหลักฐานบันทึกพอให้ค้นคว้า  ทำให้เราได้ทราบว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสได้เริ่มขึ้นที่ประเทศอังกฤษ  ในปี ค.ศ.  1890  ในครั้งนั้น  อุปกรณ์ที่ใช้เล่นประกอบด้วย  ไม้  หนังสัตว์  ลักษณะคล้ายกับไม้เทนนิสในปัจจุบันนี้   หากแต่ว่าแทนที่จะขึงด้วยเส้นเอ็นก็ใช้แผ่นหนังสัตว์หุ้มไว้แทน  ลูกที่ใช้ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์  เวลาตีกระทบถูกพื้นโต๊ะและไม้ก็เกิดเสียง “ปิก-ป๊อก”  ดังนั้น  กีฬานี้จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งตามเสียงทีได้ยินว่า  “ปิงปอง” (PINGPONG)  ต่อมาก็ได้มีการวิวัฒนาการขึ้นโดยไม้หนังสัตว์ได้ถูกเปลี่ยนเป็นแผ่นไม้แทน  ซึ่งได้เล่นแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน 
 
    วิธีการเล่นในสมัยยุโรปตอนต้นนี้เป็นการเล่นแบบยัน (BLOCKING)  และแบบดันกด  (PUSHING)  ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการเล่นแบบ  BLOCKING และ CROP  การเล่นถูกตัด  ซึ่งวิธีนี้เองเป็นวิธีการเล่นที่ส่วนใหญ่นิยมกันมากในยุโรป  และแพร่หลายมากในประเทศต่าง ๆ  ทั่วยุโรป  การจับไม้ก็มีการจับไม้อยู่  2  ลักษณะ  คือ  จับไม้แบบจับมือ  (SHAKEHAND)ซึ่งเราเรียกกันว่า  “จับแบบยุโรป”  และการจับไม้แบบจับปากกา (PEN-HOLDER) ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับไม้แบบจีน”  นั่นเอง
 
    ในปี ค.ศ. 1900  เริ่มปรากฏว่า  มีไม้ปิงปองที่ติดยางเม็ดเข้ามาใช้เล่นกัน  ดังนั้นวิธีการเล่นแบบรุกหรือแบบบุกโจมตี (ATTRACK หรือ OFFENSIVE)  เริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้น
และยุคนี้จึงเป็นยุคของนายวิตเตอร์  บาร์น่า (VICTOR BARNA)  อย่างแท้จริง  เป็นชาวฮังการีได้ตำแหน่งแชมเปี้ยนโลกประเภททีม  รวม 7 ครั้ง  และประเภทชายเดี่ยว  5 ครั้ง 
ในปี ค.ศ. 1929-1935  ยกเว้นปี  1931  ที่ได้ตำแหน่งรองเท่านั้น  ในยุคนี้อุปกรณ์การเล่น โดยเฉพาะไม้มีลักษณะคล้าย ๆ กับไม้ในปัจจุบันนี้ วิธีการเล่นก็เช่นเดียวกัน คือมีทั้งการรุก (ATTRACK)
  และการรับ (DEFENDIVE)  ทั้งด้าน  FOREHAND  และ  BACKHAND  การ จับไม้ก็คงการจับแบบ  SHAKEHAND  เป็นหลัก  ดังนั้นเมื่อส่วนใหญ่จับไม้แบบยุโรป 
แนวโน้มการจับไม้แบบ PENHOLDER  ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปมีน้อยมากในยุโป  ในระยะนั้นถือว่ายุโรปเป็นศูนย์รวมของกีฬาปิงปองอย่างแท้จริง

      ในปี ค.ศ. 1922  ได้มีบริษัทค้าเครื่องกีฬา  ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่า “PINGPONG” ด้วยเหตุนี้กีฬานี้จึงเป็นชื่อมาเป็น  “TABLE TENNIS”  ไม่สามารถใช้ชื่อ
ที่เขาจดทะเบียนได้ประการหนึ่ง  และเพื่อไม่ใช่เป็นการโฆษณาสินค้าอีกประการหนึ่ง  และแล้วในปี ค.ศ. 1926  จึงได้มีการประชุมก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ
(INTERNATIONAL TABLETENNIS FEDERATION : ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอนในเดือนธันวาคม  ค.ศ. 1926  ภายหลังจากการได้มีการปรึกษาหารือในขั้นต้นโดย
DR. GEORG LEHMANN  แห่งประเทศเยอรมัน  กรุงเบอร์ลิน  เดือนมกราคม  ค.ศ. 1926  ในปีนี้เองการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลกครั้งที่ 1  ก็ได้เริ่มขึ้น  พร้อมกับการก่อตั้งสหพันธ์ฯ
  โดยมีนายอีวอร์  มองตากู  เป็นประธานคนแรก  ในช่วงปี ค.ศ. 1940  นี้  ยังมีการเล่นและจับไม้พอจำแนกออกเป็น  3  ลักษณะดังนี้
      1.  การจับไม้  เป็นการจับแบบจับมือ
      2.  ไม้ต้องติดยางเม็ด
      3.  วิธีการเล่นเป็นวิธีพื้นฐาน  คือ  การรับเป็นส่วนใหญ่  ยุคนี้ยังจัดได้ว่าเป็น  “ยุคของยุโรป” อีกเช่นเคย

      ในปี ค.ศ. 1950  จึงเริ่มเป็นยุคของญี่ปุ่นซึ่งแท้จริงมีลักษณะพิเศษประจำดังนี้คือ
      1.  การตบลูกแม่นยำและหนักหน่วง
      2.  การใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า

      ในปี ค.ศ. 1952  ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก  ที่กรุงบอมเบย์  ประเทศอินเดีย  และต่อมาปี ค.ศ. 1953  สาธารณรัฐประชาชนจีน
จึงได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์  ประเทศรูมาเนีย  จึงนับได้ว่ากีฬาปิงปองเป็นกีฬาระดับโลกที่แท้จริงปีนี้นั่นเอง

      ในยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบจับปากกา  ใช้วิธีการเล่นแบบรุกโจมตีอย่างหนักหน่วงและรุนแรง  โดยอาศัยอุปกรณ์เข้าช่วย  เป็นยางเม็ดสอดไส้ด้วยฟองน้ำเพิ่มเติม
จากยางชนิดเม็ดเดิมที่ใช้กันทั่วโลก
      การเล่นรุกของยุโรปใช้ความแม่นยำและช่วงตีวงสวิงสั้น ๆ เท่านั้น  ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้บ่า  ข้อศอก  และข้อมือเท่านั้น  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นซึ่งใช้ปลายเท้าเป็น
ศูนย์กลางของการตีลูกแบบรุกเป็นการเล่นแบบ “รุกอย่างต่อเนื่อง”  ซึ่งวิธีนี้สามารถเอาชนะวิธีการเล่นของยุโรปได้  การเล่นโจมตีแบบนี้เป็นที่เกรงกลัวของชาวยุโรปมาก
เปรียบเสมือนการโจมตีแบบ “KAMIKAZE” (การบินโจมตีของฝูงบินหน่วยกล้าตายของญี่ปุ่น)  ซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญในญี่ปุ่นกันว่า  การเล่นแบบนี้เป็นการเล่นที่เสี่ยงและ
กล้าเกินไปจนดูแล้วรู้สึกว่าขาดความรอบคอบอยู่มาก  แต่ญี่ปุ่นก็เล่นวิธีนี้ได้ดี  โดยอาศัยความสุขุมและ Foot work  ที่คล่องแคล่วจนสามารถครองตำแหน่งชนะเลิศถึง
7  ครั้ง  โดยมี  5  ครั้งติดต่อกัน  ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953-1959

      สำหรับในยุโรปนั้นยังจับไม้แบบ SHAKEHAND และรับอยู่ จึงกล่าวได้ว่าในช่วงแรก ๆ ของปี ค.ศ. 1960 ยังคงเป็นจุดมืดของนักกีฬายุโรปอยู่นั่นเอง

      ในปี ค.ศ. 1960  เริ่มเป็นยุคของจีน  ซึ่งสามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้โดยวิธีการเล่นที่โจมตีแบบรวดเร็ว  ผสมผสานกับการป้องกัน  ในปี  1961 
ได้จัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศ 
ครั้งที่  26  ที่กรุงปักกิ่ง  ประเทศจีน  จีนเอาชนะญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นยังใช้นักกีฬาที่อายุมาก  ส่วนจีนได้ใช้นักกีฬาที่หนุ่มสามารถเล่นได้อย่าง
รวดเร็วปานสายฟ้าทั้งรุกและรับ การจับไม้ก็เป็นการจับแบบปากกา  โดยจีนชนะทั้งประเภทเดี่ยวและทีม  3  ครั้งติดต่อกัน  ทั้งนี้เพราะจีนได้ทุ่มเทกับ
การศึกษาการเล่นของญี่ปุ่นทั้งภาพยนตร์ที่ได้บันทึกไว้และเอกสารต่าง ๆ  โดยประยุกต์การเล่นของญี่ปุ่น  เข้ากับการเล่นแบบสั้น ๆ แบบที่จีนถนัดกลายเป็นวิธีการเล่นที่กลมกลืนของจีนดังที่เราเห็นในปัจจุบัน

      ยุโรปเริ่มฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง  โดยนำวิธีการเล่นของชาวอินเดียมาปรับปรุง  นำโดยนักกีฬาชาวสวีเดนและประเทศอื่น ๆ
ซึ่งมีหัวก้าวหน้าไม่มัวแต่แต่คิดจะรักษาหน้าของตัวเองว่าไม่เรียนแบบของชาติอื่นๆ ดังนั้นชายยุโรปจึงเริ่มชนะชายคู่  ในปี  1967  และ  1969  ซึ่งเป็นนักกีฬาจากสวีเดน  ในช่วงนั้นการเล่นแบบรุกยังไม่เป็นที่แพร่หลายทั้งนี้เพราะวิธีการเล่นแบบรับได้ฝังรากในยุโรป  จนมีการพูดกันว่านักกีฬายุโรปจะเรียนแบบการเล่นลูกยาวแบบญี่ปุ่นนั้นคงจะไม่มีทางสำเร็จแต่การที่นักกีฬาของสวีเดนได้เปลี่ยนวิธีการเล่นแบบญี่ปุ่นได้มีผลสะท้อน
ต่อการเปลี่ยนแปลงของเยาวชนรุ่นหลังของยุโรปเป็นอย่างมาก  และแล้วในปี  1970  จึงเป็นปีของการประจันหน้าระหว่างผู้เล่นชาวยุโรปและผู้เล่นชาวเอเชีย

      ช่วงระยะเวลาได้ผ่านไปประมาณ  10  ปี  ตั้งแต่  1960-1970   นักกีฬาของญี่ปุ่นได้แก่ตัวลงในขณะที่นักกีฬารุ่นใหม่ของยุโรปได้เริ่มฉายแสงเก่งขึ้น  และสามารถคว้าตำแหน่ง ชนะเลิศชายเดี่ยวของโลกไปครองได้สำเร็จในการแข่งขันเทเบิลเทนนิสเพื่อความชนะเลิศแห่งโลก  ครั้งที่  31  ณ กรุงนาโกน่า 
ในปี  1971  โดยนักเทเบิลเทนนิส  ชาวสวีเดน  ชื่อ  สเตลัง  เบนค์สัน  เป็นผู้เปิดศักราชให้กับชาวยุโรป  ภายหลังจากที่นักกีฬาชาวยุโรปได้ตกอับไปถึง  18  ปี  ในปี 1973  ทีมสวีเดนก็ได้คว้าแชมป์โลกได้จึงทำให้ชาวยุโรปมีความมั่นใจในวิธีการเล่นที่ตนได้ลอกเลียนแบบและปรังปรุงมา  ดังนั้นนักกีฬาของยุโรปและนักกีฬาของเอเชีย จึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญ ในขณะที่นักกีฬาในกลุ่มชาติอาหรับและลาตินอเมริกา  ก็เริ่มแรงขึ้นก้าวหน้ารวดเร็วขึ้น  เริ่มมีการให้ความร่วมมือช่วยเหลือทางด้านเทคนิคซึ่งกันและกัน การเล่นแบบตั้งรับ ซึ่งหมดยุคไปแล้วตั้งแต่ปี  1960  เริ่มจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นมาอีก โดยการใช้ความชำนาญในการเปลี่ยนหน้าไม้ในขณะเล่นลูก  หน้าไม้ซึ่งติดด้วยยางปิงปอง  ซึ่งมีความยาวของเม็ดยางยาวกว่าปกติ  การใช้ยาง  ANTI – SPIเพื่อพยายามเปลี่ยนวิถีการหมุนและทิศทางของลูกเข้าช่วย ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้นี้มีส่วนช่วยอย่างมาก ในขณะนี้กีฬาเทเบิลเทนนิสนับว่าเป็นกีฬาที่แพร่หลายไปทั่วโลกมีวิธีการเล่นใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งผู้เล่นเยาวชนต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากีฬาเทเบิลเทนนิส ต่อไป ในอนาคตได้อย่างไม่มีที่วันสิ้นสุดและขณะนี้กีฬานี้ก็ได้เป็นกีฬาประเภทหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก โดยเริ่มมีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกในปี 1988 ที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเป็นครั้งแรก
 กติการการเล่น เทเบิลเทนนิส
โต๊ะเทเบิลเทนนิส

1.1 พื้นหน้าด้านบนของโต๊ะเรียกว่า “พื้นผิวโต๊ะ” (PLAYING SURFACE) จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาว 2.74 เมตร (9 ฟุต) ความกว้าง 1.525 เมตร (5 ฟุต) และจะต้องสูงได้ระดับ โดยวัดจากพื้นที่ตั้งขึ้นมาถึงพื้นที่ผิวโต๊ะ สูง 76 เซนติเมตร (2 ฟุต 6 นิ้ว)
1.2  พื้นผิวโต๊ะ ไม่รวมถึงด้านข้างตามแนวตั้งที่อยู่ต่ำกว่าขอบบนสุดของโต๊ะลงมา
1.3  พื้นผิวโต๊ะอาจทำด้วยวัสดุใด ๆ ก็ได้ แต่จะต้องมีความกระดอนสม่ำเสมอเมื่อเอาลูกเทเบิลเทนนิสมาตรฐานปล่อยลงในระยะสูง 30 เซนติเมตร โดยวัดจากพื้นผิวโต๊ะลูกจะกระดอนขึ้นมาประมาณ 23 เซนติเมตร
1.4  พื้นผิวโต๊ะจะต้องเป็นสีเข้มสม่ำเสมอและเป็นสีด้าน ไม่สะท้อนแสง ขอบด้านบนของพื้นผิวโต๊ะทั้ง 4 ด้าน จะทาด้วยสีขาว มีขนาดกว้าง 2 เซนติเมตร เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านยาว 2.74 เมตร ทั้งสองด้านเรียกว่า “เส้นข้าง” (SIDE LINE) เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านกว้าง 1.525 เมตร ทั้งสองด้านเรียกว่า “เส้นสกัด” (END LINE)
1.5  พื้นผิวโต๊ะจะถูกแบ่งออกเป็นสองแดน (COURTS) เท่า ๆ กัน กั้นด้วยตาข่ายซึ่งขึงตั้งฉากกับพื้นผิวโต๊ะ และขนานกับเส้นสกัดโดยตลอด
1.6  สำหรับประเภทคู่ ในแต่ละแดนจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน ด้วยเส้นสีขาว มีขนาดกว้าง 3 มิลลิเมตร โดยขีดขนานกับเส้นข้าง เรียกว่า “เส้นกลาง” (CENTER LINE) และให้ถือว่าเส้นกลางนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอร์ดด้านขวาของโต๊ะด้วย
1.7  ในการแข่งขันระดับมาตรฐานสากล โต๊ะเทเบิลเทนนิสที่ใช้สำหรับการแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น โดยโต๊ะเทเบิลเทนนิสจะมีสีเขียวหรือน้ำเงิน และในการแข่งขันจะต้องระบุสีของโต๊ะที่จะใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันด้วยทุกครั้ง
ส่วนประกอบของตาข่าย

      2.1  ส่วนประกอบของตาข่ายจะประกอบด้วย ตาข่าย ที่แขวนและเสาตั้ง รวมไปถึงที่จับยึดกับโต๊ะเทเบิลเทนนิส
      2.2  ตาข่ายจะต้องขึงตึงและยึดด้วยเชือกซึ่งผูกติดปลายยอดเสาซึ่งตั้งตรงสูงจากพื้นผิวโต๊ะ 15.25 เซนติเมตร (6 นิ้ว)
      2.3  ส่วนบนสุดของตาข่าย ตลอดแนวยาวจะต้องสูงจากพื้นผิวโต๊ะ 15.25 เซนติเมตร
      2.4 ส่วนล่างสุดของตาข่ายตลอดแนวยาวจะต้องอยู่ชิดกับพื้นผิวโต๊ะให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และส่วนปลายสุดของตาข่ายทั้งสองด้านจะต้องอยู่ชิดกับเสาให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
      2.5 ในการแข่งขันระดับมาตรฐานสากล ตาข่ายที่ใช้สำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น
 
 
ลูกเทเบิลเทนนิส

3.1  ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องกลมและมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 มิลลิเมตร
3.2  ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องมีน้ำหนัก 2.7 กรัม
3.3  ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องทำด้วยเซลลูลอยด์หรือวัสดุพลาสติกอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน มีสีขาว หรือสีส้ม และเป็นสีด้าน
3.4  ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น และจะต้องระบุสีของลูกที่ใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันทุกครั้ง
 
 
 
 
ไม้เทเบิลเทนนิส

4.1  ไม้เทเบิลเทนนิสจะมีรูปร่าง ขนาด หรือน้ำหนักอย่างไรก็ได้ แต่หน้าไม้จะต้องแบนเรียบและแข็ง
4.2  อย่างน้อยที่สุด 85 % ของความหนาของไม้ จะต้องทำด้วยไม้ธรรมชาติ ชั้นที่อัดอยู่ติดภายในหน้าไม้ ซึ่งทำด้วยวัสดุอื่นใด เช่น คาร์บอนไฟเบอร์ กลาสไฟเบอร์ หรือกระดาษอัดจะต้องมีความหนาไม่เกิน 7.5 % ของความหนาทั้งหมดของไม้ หรือไม่เกิน 0.35 มิลลิเมตร สุดแท้แต่กรณีใดจะมีค่าน้อยกว่า
4.3  หน้าไม้เทเบิลเทนนิสด้านที่ใช้ตีลูกจะต้องมีวัสดุปิดทับวัสดุนั้นจะเป็นแผ่นยางเม็ดธรรมดา แผ่นยางชนิดนี้ เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้วจะต้องมีความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน 2 มิลลิเมตร หรือแผ่นยางชนิดสอดไส้ แผ่นยางชนิดนี้เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้วจะต้องมีความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน 4 มิลลิเมตร ทั้งนี้ความสูงของเม็ดยางจะเท่ากับความกว้างของเม็ดยางในอัตราส่วน 1: 1
4.3.1 แผ่นยางเม็ดธรรมดา (ORDINARY PIMPLED RUBBER) จะต้องเป็นแผ่นยางชิ้นเดียวและไม่มีฟองนี้รองรับโดยหันเอาเม็ดยางออกมาด้านนอก จะทำด้วยยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ มีเม็ดยางกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 10 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร และไม่มากกว่า 30 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร
4.3.2  แผ่นยางชนิดสอดไส้ (SANDWICH RUBBER) ประกอบด้วยฟองน้ำชนิดเดียวปิดคลุมด้วยแผ่นยางธรรมดาชิ้นเดียว โดยจะหันเอาเม็ดยางอยู่ด้านในหรืออยู่ด้านนอกก็ได้ ซึ่งความหนาของแผ่นยางธรรมดานี้จะต้องมีความหนาไม่เกิน 2 มิลลิเมตร
4.4  วัสดุปิดทับหน้าไม้จะต้องปิดทับคลุมหน้าไม้ด้านนั้น ๆ และจะต้องไม่เกินขอบน้าไม้ออกไป ยกเว้นส่วนที่ใกล้กับด้ามจับที่สุดและที่วางนิ้วอาจจะหุ้มหรือไม่หุ้มด้วยวัสดุใด ๆ ก็ได้
4.5  หน้าไม้เทเบิลเทนนิส ชั้นภายในหน้าไม้ และชั้นของวัสดุปิดทับต่าง ๆ หรือกาว จะต้องสม่ำเสมอและมีความหนาเท่ากันตลอด
4.6  หน้าไม้เทเบิลเทนนิส ด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีแดงสว่าง (BRIGHT RED) และอีกด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีดำ (BLACK) และจะต้องมีสีกลมกลืนอย่างสม่ำเสมอไม่สะท้อนแสง
4.7  วัสดุที่ปิดทับหน้าไม้สำหรับตีลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องมีเครื่องหมายการค้าของ บริษัท ผู้ผลิต ยี่ห้อ รุ่น  และเครื่องหมาย ITTF แสดงไว้อย่างชัดเจนใกล้กับขอบของหน้าไม้ โดยจะต้องเป็นชื่อ ยี่ห้อและชนิด (BRAND AND TYPE) ที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) ครั้งหลังสุดเท่านั้น
4.8 สำหรับกาวที่มีส่วนประกอบของสารที่เป็นพิษ จะไม่อนุญาตให้ใช้ทาลงบนหน้าไม้เทเบิลเทนนิส ผู้เล่นจะต้องใช้กาวแผ่นสำเร็จรูปหรือกาวที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น และห้ามใช้กาวในการติดยางกับไม้เทเบิลเทนนิสในบริเวณสนามแข่งขัน
4.9  การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของความสม่ำเสมอของผิวหน้าไม้หรือวัสดุปิดทับ หรือความไม่สม่ำเสมอของสีหรือขนาดเนื่องจากการเสียหายจากอุบัติเหตุ การใช้งานหรือสีจางอาจจะอนุญาตให้ใช้ได้ โดยเงื่อนไขว่าเหตุเหล่านั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อคุณลักษณะของผิวหน้าไม้ หรือวัสดุปิดทับ
4.10  เมื่อเริ่มการแข่งขัน และเมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นเปลี่ยนไม้เทเบิลเทนนิสระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่นจะต้องแสดงไม้เทเบิลเทนนิสที่เขาเปลี่ยนให้กับคู่แข่งขัน และกรรมการผู้ตัดสินตรวจสอบก่อนทุกครั้ง
4.11 เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่จะต้องมั่นใจว่าไม้เทเบิลเทนนิสนั้นถูกต้องตามกติกา
4.12 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเล่น ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ชี้ขาด
 
 
 คำจำกัดความ (DEFINITIONS)

      5.1 การตีโต้ (RALLY) หมายถึงระยะเวลาที่ลูกอยู่ในการเล่น
      5.2 ลูกอยู่ในการเล่น (INPLAY) หมายถึง เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสได้หยุดนิ่งบนฝ่ามืออิสระก่อนการส่งลูกในจังหวะสุดท้ายจนกระทั่งลูกนั้นถูกสั่งให้เป็นเลท หรือได้คะแนน
      5.3 การส่งใหม่ (LET) หมายถึง การตีโต้ที่ไม่มีผลได้คะแนน
      5.4  การได้คะแนน (POINT) หมายถึง การตีโต้ที่มีผลได้คะแนน
      5.5  มือที่ถือไม้ (RACKET HAND) หมายถึง มือในขณะที่ถือไม้เทเบิลเทนนิส
      5.6  มืออิสระ (FREE HAND) หมายถึง มือในขณะที่ไม่ได้ถือไม้เทเบิลเทนนิส
      5.7 การตีลูก (STRIKES) หมายถึง การที่ผู้เล่นสัมผัสลูกด้วยไม้เทเบิลเทนนิสขณะที่ถืออยู่ หรือสัมผัสลูกด้วยมือที่ถือไม้เทเบิลเทนนิสตั้งแต่ข้อมือลงไป
      5.8 การขวางลูก (OBSTRUCTS) หมายถึง ขณะที่ลูกอยู่อยู่ในการเล่น หลังจากที่ฝ่ายตรงข้ามตีลูกมา โดยลูกนั้นยังไม่ได้กระทบแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง หละยังไม่พ้นเส้นสกัด ปรากฏว่าผู้เล่นหรือสิ่งใด ๆ ที่เขาสวมใส่หรือถืออยู่สัมผัสถูกลูก ขณะลูกนั้นอยู่เหนือระดับพื้นผิวโต๊ะ หรือลูกนั้นมีทิศทางวิ่งเหข้าหาพื้นผิวโต๊ะ
      5.9  ผู้ส่ง (SERVER) หมายถึง ผู้ที่ตีลูกเทเบิลเทนนิสเป็นครั้งแรกในการตีโต้
      5.10  ผู้รับ (RECEIV) หมายถึง ผู้ที่ตีลูกเทเบิลเทนนิสเป็นครั้งที่สองในการตีโต้
      5.11  ผู้ตัดสิน (UMPIRE) หมายถึง ผู้ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อควบคุมการแข่งขัน
      5.12  ผู้ช่วยตัดสิน (ASSISTANT UMPIRE) หมายถึง ผู้ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อช่วยผู้ตัดสินในการแข่งขัน
      5.13  สิ่งใด ๆ ที่ผู้เล่นสวมใส่หรือถืออยู่ หมายรวมถึง สิ่งใด ๆ ก็ตามที่ผู้เล่นสวมใส่หรือถืออยู่ตั้งแต่เริ่มการตีโต้
      5.14  ลูกเทเบิลเทนนิสจะถูกพิจารณาว่าผ่านตาข่าย ถ้าข้ามผ่านหรืออ้อม หรือลอดส่วนประกอบของตาข่าย ยกเว้นลูกที่ลอดระหว่างตาข่ายกับพื้นผิวโต๊ะ หรือลูกที่ลอดระหว่างตาข่ายกับอุปกรณ์ที่ยึดตาข่าย
      5.15  เส้นสกัด (END LINE) หมายรวมถึง เส้นสมมติที่ลาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น