ภาพยนตร์โฆษณา - ต่อต้านคอร์รัปชั่น

ภาพยนตร์โฆษณา - ต่อต้านคอร์รัปชั่น

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ

สิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ

         สิ่งแวดล้อมอาจจำแนกตามสถานที่แบ่งออกได้เป็น๔แหล่งใหญ่ ๆคือ สิ่งแวดล้อมในบ้าน สิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน สิ่งแวดล้อมในชุมชนหรือท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน ซึ่งสิ่งแวดล้อมดังกล่าวนั้นอาจทำให้เกิดมลพิษต่างๆได้มากมาย ทั้งมลพิษทางน้ำ ทางอากาศ  ทางอาหาร หรือทางดิน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วปัญหาสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ล้วนเกิดมาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น และเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ก็ส่งผลสะท้อนกลับเข้าหาตัวของมนุษย์นั่นเอง ดังนั้นแนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงไม่ใช่การแก้ไขปัญหาทีละส่วน หากแต่ต้องแก้ไขไปพร้อมๆกัน ทั้งในด้านเทคนิค ด้านของการควบคุมและด้านของการจัดการของหน่วยงานหรือบุคคลที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นๆร่วมกัน จึงจะทำให้สามารถบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ในที่สุด
๑ ประเภทของสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดสภาพปัญหาสุขภาพ
        สิ่งแวดล้มที่มีผลต่อสุขภาพ อาจจะพิจารณาในแง่มุมที่เป็นตัวแทนของพื้นที่หรือขอบเขตของสถานที่ได้ดังนี้
        ๑.๑) สิ่งแวดล้อมในบ้าน เป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ชิดตัวเรามากที่สุด การสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมประเภทนี้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาที่เราอยู่ภายในบ้าน เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหารเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับน้ำดื่ม ประเภทของอาคาร โดยพบว่าอาคารแต่ละแบบก็มีโอกาสที่จะก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้แตกต่างกัน เช่น อาคารที่เป็นตึก ก็จะมีผลที่แตกต่างจากอาคารที่เป็นไม้และบางครั้งก็ทาสีภายในอาคาร ก็ส่งผลต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่ากิจกรรมทางด้านการเกษตรหรืออุตสาหกรรมที่ดำเนินอยู่ภายในหรือรอบบริเวณบ้าน งานอดิเรก สารเคมีกำจัดแมลงและศัตรูพืชที่ใช้ในบ้านเรือนและสวน และรวมถึงนิสัยการรับประทานอาหารของครอบครัวและบุคคลด้วย จึงเห็นได้ว่าสิ่งแวดล้อมต่อไปนี้สัมผัสหรือเกี่ยวข้องกับตัวเราอยู่ตลอดเวลา
       ๑.๒) สิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน คนเราอาจจะใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตในสภาพแวดล้อมของการประกอบอาชีพ เช่นสถานที่ทำงานในสำนักงาน โรงงาน เหมืองแร่ ฯลฯ ซึ่งที่เหล่านี้อาจจะมีสภาพปัญหาแวดล้อมและประเภทของการสัมผัสสารเคมีที่มีลักษณะเฉพาะ หรือการใช้เวลาในโรงเรียนหรือสถานศึกษาอื่นๆก็อาจจะนำมาพิจารณาภายใต้หัวข้อนี้ได้
       ๑.๓) สิ่งแวดล้อมในชุมชนหรือท้องถิ่น คนๆหนึ่งอาจจะได้รับสัมผัสกับมลพิษทางอากาศที่มีสาเหตุมาจากการจราจร หรือุตสาหกรรมในท้องถิ่น หรือรับสัมผัสสารเคมีที่รั่วไหลออกมาจากสถานที่ทิ้งขยะในท้องถิ่น หรือเสียงดังจากการจารจรเป็นต้นซึ่งเหล่านี้มักเกิดในบริเวณที่คนเหล่านั้นอาศัยอยู่
       ๑.๔) สิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน ซึ่งหมายถึงสิ่งแวดล้อมในระดับทางภูมิภาค ระดับชาติ ระดับระหว่างประเทศ และระดับโลก การสัมผัสกับสิ่งคุกคามที่เกี่ยวข้อง ได้แก่มลพิษทางอากาศ เช่น การเกิดควันพิษจากการเผาป่าในประเทศอินโดนีเซียที่ส่งผลกระทบถึงภาคใต้ของประเทศไทย เป็นต้น มลพิษทางแม่น้ำหรือทะเล การขนกากของเสียอันตรายจากประเทศหนึ่งสู่อีกประเทศหนึ่ง มลพิษทางกัมมันตภาพรังสีจากอุบัติเหตุนิวเครียร์ การสัมผัสรังสีอัลตราไวโอเลต อันเป็นผลที่เกิดจากการลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศ และการเปลี่ยนแปลงของโรคที่เกิดจากแมลงที่เป็นพาหะอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก เป็นต้น   
๒ ปฏิกิริยาลูกโซ่ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ
สิ่งแวดล้อมนั้นมีความเชื่อมโยงต่อสุขภาพอย่างมาก โดยผ่านการรับสัมผัสของมนุษย์ที่มีต่อมลพิษต่างๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วก็เกิดจากกิจกรรมหรือการกระทำของมนุษย์เกือบทั้งสิ้น เมื่อมนุษย์ได้สัมผัสสารมลพิษแล้วก็จะเกิดผลต่อสุขภาพได้ อาจเป็นเพียงการแสดงอาการเล็กน้อย การเจ็บป่วย หรือที่ร้ายแรงที่สุดคือการเสียชีวิต ซึ่งสามารถแสดงขั้นตอนหรือปฏิกิริยาลูกโซ่ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพได้ 
       ๒.๑) มลพิษทางน้ำ น้ำเป็นสิ่งที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิต การพัฒนาด้าวสาธารณสุขขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพของน้ำ นับตั้งแต่การผลิตอาหารด้วยเกษตรกรรม การเพาะพันธุ์สัตว์ การปรุงอาหาร ตลอดจนอุตสาหกรรมอาหารต่างๆดันนั้นการปนเปื่อนของน้ำจึงส่งผลต่อคุณภาพของอาหารทำให้เกิดพิษภัยได้ทั้งอย่างเฉียบพลันและเรื้อรัง
              การรักษาคุณภาพน้ำของประเทศไทยไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรร ดังนั้นจะเห็นได้จากคุณภาพของแหล่งน้ำที่ต่ำกว่ามาตรฐานมีอยู่หลายแห่งโดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นลำน้ำสายหลักของประเทศ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำนั้นได้แก่
         - สิ่งปฏิกูลจากชุมชน ทำไห้มีการปนเปื้อนจากเชื่อโรคในอุจจาระและปัสสาวะ
         - อินทรียจากชุมชน เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่ในสภาพของน้ำทิ้ง ขยะมูลฝอยต่างๆทำให้ระดับออกซิเจนในน้ำลดต่ำลง เนื่องจากถูกนำไปใช้ในการย่อยอินทรียสารเหล่านี้และเมื่อออกซเจนออกไปก็จะมีการย่อยโดยไม่ใช้ออกซิเจน ทำให้เกิดก๊าซมีเทน ก๊าซไข่เน่าขึ้น ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว
        - อนินทรียสารและสารพิษต่างๆ กิจกรรมต่างๆ ทั้งในครัวเรือน ในภาคเกษตรกรรม การทำเหมืองแร่ โรงงานต่างๆ มีการปล่อยสารเคมีและสารพิษต่างๆหลายอย่างลงสู่แม่น้ำ เช่น โลหะหนัก สารกำจัดศัตรูพืช และสารก่อมะเร็งอื่นๆ โดยเคยมีการตรวจพบสารไดออกซิน ซึ่งสามารถก่อมะเร็งและกดระบบภูมิค้มกันของร่างกายได้ จากระบบระบายน้ำทิ้งของโรงงานผลิตเยื่อกระดาษในจังหวัดขอนแก่นเป็นต้น
      ๒.๒) มลพิษทางอากาศ ระดับของฝุ่นละอองในเมืองใหญ่หลายแห่งเป็นปัญหาที่สำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศอันเนื่องมาจากการก่อสร้างต่างๆ การจราจรที่คับคั่งการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ในยวดยานต่างๆรวมไปถึงการที่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆไม่มีการเข้มงวดในเรื่องของการปลดปล่อยสารมลพิษทางอากาศเท่าที่ควร ล้วนแต่ส่งผลทำให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร และเมืองใหญ่ๆที่มีปัญหาในเรื่องนี้ค่อนข้างมาก เช่น ปัญหาแก๊สพิษต่างๆเป็นต้น
     ๒.๓) การปนเปื้อนของสารมลพิษในวงจรอาหาร จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขในระหว่างปี พ.ศ. 2539-2540 พบว่าอาหารและผลผลิตทางการเกษตรมีการปนเปื้อนด้วยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชถึงร้อยละ 30 แต่ที่เกินระดับมาตราฐานของนานาชาติ (CODEX) คือร้อยละ 5-6 ของผักและผลไม้ที่จำหน่ายภายในประเทศ และร้อยละ 7 ของเนื้อสัตว์ที่ส่งออก ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนอย่างมาก หรืออาจพิจารณาจากการที่สินค้าทางด้านการเกษตรของเราหลายอย่างถูกตีกลับจากต่างประเทศ เนื่องจากไม่ผ่านมาตราฐานทางด้านอาหารของประเทศนั้นๆ เช่น การถูกส่งกลับลำใยสดจากประเทศจีน การถูกส่งกลับกุ้งแช่แข็งจากประเทศในเครื่อสหภาพยุโรป เหล่านี้เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าปัญหาสิ่งแวดล้อม ในด้านของการปนเปื่อนอาหาร ไม่ใช่ปัญหาที่ไกลตัวเราอีกแล้ว หากแต่มีผลกระทบต่อสุขภาพของเราโดยตรง นอกจากนี้ในด้ายของน้ำที่ใช้ในการบริโภค อุปโภค ก็พบว่ามีคุณภาพที่ต่ำกว่ามาตราฐาน โดยเฉพาะน้ำบริโภคในเขตชนบทที่ห่างไกล เนื่องมาจากระบบการประปายังไม่ดีพอ หรือไม่ทั่วถึง และประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของอาหาร คือสุขลักษณะของสถานที่ประกอบอาหาร ซึ่งพบว่ายังไม่ได้มาตราฐานอีกหลายแห่ง โดยเฉพาะโรงฆ่าสัตว์ต่างๆที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตราฐานค่อนข้างมาก 
     ๒.๔) มลพิษทางดิน ในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรเป็นจำนวนมาก ทั้งในรูปของปุ๋ยและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้คุณภาพของดินต่ำลง เกิดปัญหาของผลผลิดทางด้านเกษตรคุณภาพของผลผลิดต่ำลง และเกิดการปนเปื้อนของสารมลพิษต่างๆขึ้น
            เมื่อมนุษย์สัมผัสสารพิษเหล่านั้น ก็จะเกิดการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพตามมา ซึ่งอาจจะเกิดเพียงเล็กน้อย จนกระทั้งเจ็บป่วยและเสียชีวิตในที่สุด ทั้วนี้ย่อมขึ้นอยู๋กับความเป็นพิษของสารที่สัมผัสนั้นๆความรุนแรงของการสัมผัส และภูมิไวรับของบุคคลนั้นเองด้วยโดยที่กระบวนการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเนื้องจากปัจจัยในเรื่องของการเจริญเติบโตของประชากร การพัฒนาเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่นีอยู๋ ที่เป็นตัวการกระตุ้นให้เกิดอันตรายจากสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและเพิ่มโอกาสในการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษเหล่านี้มากขึ้นด้วย ซึ่งแนวทางแก้ไขนั้นจำเป็นที่จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบในแต่ละขั้นตอนของลูกโซ่ที่ปรากฎ
๓ ทิศทางการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
    แนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยนั้นมีแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้
     ๓.๑) การแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิค เช่น การบำบัดน้ำเสียโดยการสร้างบ่อกำจัดน้ำเสีย การสร้างที่เก็บของเสีย การสร้างโรงงานกำจัดขยะ หรือการติดตั้งเครื่องกรองอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่สามารถที่แก้ไขปัญหาต่างๆให้หมดไปได้ จำเป็นจะต้องใช้วิธีการอื่นๆร่วมด้วย
     ๓.๒) การควบคุมโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ประเทศไทยได้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหลายฉบับ โดยในบรรดากฎหมายต่างๆเหล่านี้กฎหมายที่ถือว่าเป็นกฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เพราะเป็นกฎหมายที่มีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในลักษณะครอบคลุมทุกด้าน มีมาตราการควบคุมและแก้ไขอย่างพอเพียง โดยแนวทางที่ไช้บังคับตามกฎหมายฉบับนี้คือ การใช้หลักผู้สร้างมลพิษเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายที่ทำให้เกิดมลพิษนั้นๆแต่ในปัจจุบันหลักการนี้ยังไม่สามารถที่จะใช้ได้ครอบคลุม ยังต้องใช้หลักที่ผู้รับผลประโยชน์ต้องเป็นผู้จ่ายร่วมด้วย
     ๓.๓) การแก้ไขด้วยการจัดการ เป็นแนวทางของการผสมผสานองค์ประกอบต่างๆของกระบวนการมาสู่การดำเนินการอย่างเป็นระบบ เช่น
       - การใช้เทคโนโลยีสะอาด หมายถึง การปรับเปลี่ยนวัตถุดิบ ปรับปรุงระบบการทำงาน การนำกลับมาใช้ใหม่ ปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี ปรับเปี่ยนผลิตภัณฑ์ เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต
       - การควบคุมคุณภาพ โดยประยุกต์ใช้ ระบบ ISO 14000 ซึ่งเป็นมาตราฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่เน้นมุ่งให้ความสำคัญกับสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม ซึ่ง ISO 14000 นี้กำลังได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆของไทย แต่ตังปัญหาที่สำคัญคือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีจำนวนมาก ยังไม่ให้ความสนใจในการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร
    จะเห็นได้ว่าการจัดการสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยนั้น ไม่สามารถที่จะดำเนินการได้โดยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงลำพัง หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น หากแต่ต้องอาศัยการผสมผสานวิธีการที่หลากหลาย อย่างเป็นระบบ จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้หมดไปได้  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น